• 043 202 378
  • phdean@kku.ac.th
  • Login
  • หน้าหลัก
    • กลับสู่หน้าหลัก
    • สารจากคณบดี
    • ประวัติ พันธกิจ
    • สัญลักษณ์
    • โครงสร้างการบริหาร
    • คณะผู้บริหาร ปัจจุบัน
  • นักศึกษา
    • ระดับปริญญาตรี
    • ระดับบัณฑิตศึกษา
  • หลักสูตร
    • สานักบริหารและพัฒนาวิชาการ
    • หลักสูตรปริญญาตรี
    • หลักสูตรปริญญาโท
    • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
    • หลักสูตรปริญญาเอก
    • บัณฑิตวิทยาลัย มข.
  • บริการวิชาการ/วิจัย
    • ประชุมวิชาการ
    • หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น
    • ข้อมูลวิจัยและผลงานวิจัย (ORA KKU)
    • ข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา
  • บุคลากร
    • บุคลากรสายวิชาการ
    • บุคลากรสายสนับสนุน
    • จรรยาบรรณของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สารสนเทศ
    • ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา
    • ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร
    • ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปกครอง
    • แบบฟอร์ม
    • จดหมายเวียนคณะเภสัชศาสตร์
    • Integrity & Transparency Assessment : ITA
    • รายงานการประชุมกรรมการคณะ
    • คู่มือการปฏิบัติงาน (สายสนับสนุน)
  • ติดต่อเรา
    • สำนักงานคณบดี

คณะเภสัชฯ จัดงานงานประชุมเชิงปฏิบัติการ "การวิจัยแบบผสมผสานในทางเภสัชกรรมปฏิบัติ (Mixed MethodsResearch in Pharmacy Practice)" สร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรม

หน้าแรก ข่าวประชาสัมพันธ์


  วันที่ประกาศ 2017-05-19 อ่าน 944 ครั้ง

     เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2560 รองศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ ดาวสดใส คณบดี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิด "การประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรม ครั้งที่ 24/2560 เรื่อง การวิจัยแบบผสมผสานในทางเภสัชกรรมปฏิบัติ (Mixed MethodsResearch in Pharmacy Practice)" ณ โรงแรม อวานี โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โดยมี เภสัชกรจากกระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, คณาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ จำนวน  40  คน ในการประชุมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเก็บหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ ได้ ประมาณ 17 หน่วยกิต

  และการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เภสัชกรที่เข้าร่วมประชุมมีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยแบบผสมผสาน และ การออกแบบการวิจัย  การเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนางานเภสัชกรรมปฏิบัติต่อไป
    ในอดีตการวิจัยโดยส่วนใหญ่มักเป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นไปในด้านการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดในแบบนิรนัย (deductive) โดยมีเป้าประสงค์หลักเพื่อทดสอบทฤษฎีหรือสมมติฐาน  การรวบรวมพรรณนาสารสนเทศ  ตลอดจนการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ  การหาหลักฐานเชิงประจักษ์  การศึกษาเชิงเหตุและผลในตัวแปรที่สามารถวัดหรือประเมินเป็นตัวเลขได้  ซึ่งข้อดีของการวิจัยเชิงปริมาณที่มีการออกแบบการวิจัยที่ดีคือ การสามารถนำผลลัพธ์จากการวิจัยไปขยายผลอธิบายยังประชากรได้ (generalizability) ตลอดจนมีคุณสมบัติในการศึกษาซ้ำได้ในที่ต่าง ๆ (replicate)  แต่มีข้อจำกัดในการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ โดยเฉพาะในบริบทที่มีความจำเพาะที่แตกต่างกันไป  ในขณะที่การวิจัยเชิงคุณภาพที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดในแบบอุปนัย (inductive) อันเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างทฤษฎี แนวคิด โดยได้ข้อมูลที่มาจากเชิงลึก และมุ่งเน้นการทำความเข้าใจถึงแนวคิดของปัจเจกบุคคลในลักษณะที่สอดคล้องกับความเป็นจริงตามธรรมชาตินั้น  การวิจัยเชิงคุณภาพจึงเป็นเสมือนแนวทางที่ตรงข้ามกันกับการวิจัยเชิงปริมาณ  ซึ่งเป้าประสงค์หลักของการวิจัยเชิงคุณภาพ มิได้อยู่ที่การนำผลไปขยายยังประชากร แต่มุ่งเน้นการทำความเข้าใจเชิงลึกในกลุ่มที่ศึกษาเท่านั้น จึงมีข้อจำกัดในการนำไปขยายผลในเชิงกว้าง  
    และเป็นที่มาของ "แนวคิดของการวิจัยผสมผสาน" ซึ่งมาจากการนำระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพมาผนวกรวมเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม เพื่อนำข้อดีจากทั้ง 2 วิธีการมาประยุกต์ใช้ เภสัชกรจะมีองค์ความรู้ทั้งด้านการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  เพื่อใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ  เช่น การศึกษาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาล ที่มีทั้งข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพจากทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น โดยผลที่ได้จากการวิจัยที่มีทั้งภาพกว้างเชิงปริมาณและภาพลึกในด้านความเข้าใจที่ถ่องแท้ จะนำไปสู่การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ทั้งด้านการบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย  ตลอดไปจนกระทั่งถึงการบริหารจัดการในองค์กรและหน่วยงานต่อไป โดยเชื่อมโยงกับความรู้ความก้าวหน้าในทางการแพทย์  เภสัชกรรม  และระบบสุขภาพในปัจจุบันมีรากฐานมาจากการวิจัยเป็นหลักสำคัญ 

  ข่าว/ภาพ : เตชิต (เรียบเรียง/กัณฐาภรณ์)

ข่าวอื่นๆในหมวดหมู่

[ ข่าวประชาสัมพันธ์ ]
  •   ขอเชิญ คณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและผู้สนใจร่วมฟังการสอบวิทยานิพนธ์ / การศึกษาอิสระ มิถุนายน 2568
  •   เภสัชฯ มข. เปิดบ้านต้อนรับน้องใหม่อย่างอบอุ่น จุดประกายก้าวแรกสู่ชีวิตนักศึกษา
  •   นักศึกษาเภสัช มข. คว้ารางวัลชนะเลิศ Rational Pharma Challenge 2025 คว้าเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศจาก อย.
  •   เภสัช มข. จัดกิจกรรมสัมมนาวิชาการ "การประยุกต์ใช้ฟีโนมิกส์และชีวสารสนเทศในทางเภสัชศาสตร์"
  •   คณบดีเภสัชศาสตร์ ม.ขอนแก่น ต้อนรับนักศึกษาใหม่ Rx44 KKU62 ว่าที่เภสัชกรในอนาคต
  •   นักศึกษาเภสัช ม.ขอนแก่น คว้ารางวัลการแข่งขัน ISPE Thailand Hackathon 2025 เตรียมเป็นตัวแทนประเทศไปแข่งขันเวทีระดับนานาชาติ
  •   คณะเภสัชศาสตร์ มข. จัดกิจกรรมอบรมระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ มุ่งสู่มาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017
  •   คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ PST 2025 พร้อมคว้ารางวัล Platinum Award

ข่าวล่าสุด

  • ขอเชิญ คณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและผู้สนใจร่วมฟังการสอบวิทยานิพนธ์ / การศึกษาอิสระ มิถุนายน 2568
  • เภสัชฯ มข. เปิดบ้านต้อนรับน้องใหม่อย่างอบอุ่น จุดประกายก้าวแรกสู่ชีวิตนักศึกษา
  • นักศึกษาเภสัช มข. คว้ารางวัลชนะเลิศ Rational Pharma Challenge 2025 คว้าเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศจาก อย.
  • เภสัช มข. จัดกิจกรรมสัมมนาวิชาการ "การประยุกต์ใช้ฟีโนมิกส์และชีวสารสนเทศในทางเภสัชศาสตร์"
  • คณบดีเภสัชศาสตร์ ม.ขอนแก่น ต้อนรับนักศึกษาใหม่ Rx44 KKU62 ว่าที่เภสัชกรในอนาคต
  • ขอแสดงความยินดี ศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อรุณศรี ปรีเปรม ในโอกาสมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง "ศาสตราจารย์"
  • 043 202 378
  • phdean@kku.ac.th
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

หลักสูตร

  • ปริญญาตรี
  • ปริญญาโท
  • ปริญญาเอก

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • KKU PDP

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

© สงวนลิขสิทธิ์โดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2566

  • ติดตามเราได้ที่: