• 043 202 378
  • phdean@kku.ac.th
  • Login
  • หน้าหลัก
    • กลับสู่หน้าหลัก
    • สารจากคณบดี
    • ประวัติ พันธกิจ
    • สัญลักษณ์
    • โครงสร้างการบริหาร
    • คณะผู้บริหาร ปัจจุบัน
  • นักศึกษา
    • ระดับปริญญาตรี
    • ระดับบัณฑิตศึกษา
  • หลักสูตร
    • สานักบริหารและพัฒนาวิชาการ
    • หลักสูตรปริญญาตรี
    • หลักสูตรปริญญาโท
    • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
    • หลักสูตรปริญญาเอก
    • บัณฑิตวิทยาลัย มข.
  • บริการวิชาการ/วิจัย
    • ประชุมวิชาการ
    • หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น
    • ข้อมูลวิจัยและผลงานวิจัย (ORA KKU)
    • ข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา
  • บุคลากร
    • บุคลากรสายวิชาการ
    • บุคลากรสายสนับสนุน
    • จรรยาบรรณของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สารสนเทศ
    • ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา
    • ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร
    • ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปกครอง
    • แบบฟอร์ม
    • จดหมายเวียนคณะเภสัชศาสตร์
    • Integrity & Transparency Assessment : ITA
    • รายงานการประชุมกรรมการคณะ
    • คู่มือการปฏิบัติงาน (สายสนับสนุน)
  • ติดต่อเรา
    • สำนักงานคณบดี

อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มข. และคณะนักวิจัย ค้นพบสรรพคุณ "ฟ้าทลายโจร" สมุนไพรไทยฆ่าเซลล์มะเร็งปากมดลูก

หน้าแรก ข่าวประชาสัมพันธ์


  วันที่ประกาศ 2017-06-03 อ่าน 2446 ครั้ง

       เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2560 คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วย รศ.ดร.ภญ.ฉันทนา อารมณ์ดี, รศ.ดร.ภญ.วัชรี คุณกิตติ พร้อมด้วย รศ.ดร.พญ.แจ่มใส เพียรทอง รศ.ดร.พญ.ทิพยา เอกลักษณานันท์ จากคณะแพทยศาสตร์ เข้าร่วมงานแถลงข่าวการค้นพบสรรพคุณอันโดดเด่นของฟ้าทลายโจรซึ่งมีสารสำคัญที่สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งปากมดลูก และต้านไวรัสเชื้อเริม ในงาน "นักวิจัย มข. พบสื่อมวลชน" ประจำเดือนมิถุนายน ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ ห้องประชุมสิริคุณากร 4 ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
        โดย รศ.ดร.ภญ.ฉันทนา อารมย์ดี กล่าวถึงฟ้าทลายโจรว่า “บัญชียาหลักแห่งชาติได้บรรจุฟ้าทลายโจรเป็นยาบรรเทาปวด ลดการอักเสบ เนื่องจากฟ้าทลายโจรถูกใช้มาอย่างยาวนาน และด้วยสรรพคุณมากมาย เราจึงได้ศึกษาสารแต่ละชนิดที่มีในฟ้าทลายโจร เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ เมื่อทำการวิจัยเราได้สารสำคัญจากฟ้าทลายโจรหลายชนิด และเมื่อนำมาปรับสูตรโครงสร้างหลายแบบเพื่อเพิ่มผลการออกฤทธิ์ต่างๆ โดยทำการทดลองในสัตว์ทดลองพบว่า ฟ้าทลายโจรมีสารที่ช่วยแก้ไข แก้ปวด แก้อักเสบ เพิ่มอสุจิในสัตว์ทดลอง ต้านไวรัสและแบคทีเรีย
        ทั้งนี้ เราสนใจสารที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสอยู่สองสารคือ “แอนโดรกราโฟลายด์” และสารอนุพันธ์ที่ถูกสังเคราะห์ต่อเรียกว่า “IPAD” โดยผลการทดลองขั้นต้นเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสเชื้อเริม (HSV) และมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากไวรัส (HSV) ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ปริมาณมากเพื่อทำการทดลองต่อ เราจึงได้คิดค้นวิธีการสกัดและสังเคราะห์สารอนุพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถลัดขั้นตอนและได้ปริมาณมาก โดยสามารถขายเทคโนโลยีการผลิตเหล่านี้ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมที่สนใจ
      นอกจากนี้เรายังได้คิดค้นชุดทดสอบและวัดปริมาณสารในฟ้าทลายโจร เพื่อให้เกษตรกรใช้วัดคุณภาพฟ้าทลายโจร เพื่อพัฒนาอาชีพการปลูกฟ้าทลายโจรให้มีรายได้ดีโดยขายได้ราคาสูงอีกด้วย และเมื่อผลการทดลอง โดย รศ.ดร.พญ.แจ่มใส เพียรทอง และ รศ.ดร.พญ.ทิพยา เอกลักษณานันท์พบว่าสารทั้งสองสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งปากมดลูกและยับยั้งไวรัสที่ก่อโรคเริม จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยา โดยรศ.ดร.ภญ.วัชรี คุณกิตติ ซึ่งได้ทำการวิจัยและพัฒนาในรูปแบบครีมเพื่อยังคงสรรพคุณทางยาของสารสกัดทั้งสองและสามารถปลดปล่อยตัวยาได้ผลดีที่สุด”


         และ รศ.ดร.ภญ.วัชรี คุณกิตติ กล่าวถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ว่า “เมื่อผลการทดลอง โดย รศ.ดร.พญ.แจ่มใส เพียรทอง และ รศ.ดร.พญ.ทิพยา เอกลักษณานันท์ พบว่าสารทั้งสองสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งปากมดลูกและยับยั้งไวรัสที่ก่อโรคเริม จากนั้นได้นำผลการทดลองสู่กระบวนการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยา ซึ่งต้องมีการทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ตามขั้นตอนซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนตำรับยา โดยได้ทำการวิจัยและพัฒนาในรูปแบบครีมเพื่อยังคงสรรพคุณทางยาของสารสกัดทั้งสองและสามารถปลดปล่อยตัวยาได้ผลดีที่สุด ทั้งนี้ กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ หากผลงานวิจัยสำเร็จจนได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์พร้อมจำหน่ายแล้ว จะมีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับทราบและได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพจากงานวิจัย มข.”
       สำหรับ รศ.ดร.ภญ.ฉันทนา  อารมณ์ดี ปัจจุบันท่านเป็นอาจารย์อาวุโส สังกัดสำนักวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งท่านให้ความสนใจและทำการวิจัยสรรพคุณของฟ้าทลายโจร โดยมีผลงานวิจัย ตำรา และหนังสือเกี่ยวกับสรรพคุณของฟ้าทลายโจรออกเผยแพร่จำนวนมาก และในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้รับความร่วมมมือจาก รศ.ดร.ภญ.วัชรี  คุณกิตติ ซึ่งปัจจุบันท่านเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอีกด้วย

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : เว็บไซต์ มข. (กองสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

  ข่าว/ภาพ : กัณฐาภรณ์ วุฒิงาม

ข่าวอื่นๆในหมวดหมู่

[ ข่าวประชาสัมพันธ์ ]
  •   ขอเรียนเชิญเข้าร่วมประชุมเสวนา ในหัวข้อเรื่อง สมาร์ทเอจจิง 2025: กินดี อยู่เป็น เพื่อชีวิตยืนยาว
  •   ขอเชิญร่วมกิจกรรมนัดพบผู้ปกครองและการทำสัญญาการเป็นนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ และกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่
  •   การให้บริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย (Common Illness : CI)
  •   ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียนและมีสิทธิ์สอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (สัมภาษณ์) ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
  •   คณะเภสัชศาสตร์ มข. เจ้าภาพ ประชุมวิชาการ ศคภท. ครั้งที่ 17 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายบุคลากรสายสนับสนุนเภสัชศาสตร์ทั่วประเทศ
  •   ขอเชิญ คณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและผู้สนใจร่วมฟังการสอบวิทยานิพนธ์ / การศึกษาอิสระ -พฤษภาคม 2568
  •   ขอเชิญ คณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและผู้สนใจร่วมฟังการสอบวิทยานิพนธ์ / การศึกษาอิสระ เมษายน-พฤษภาคม 2568
  •   คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกาศผลการสัมภาษณ์ ตำแหน่ง เภสัชกรฯ ประจำปีงบประมาณ 2568

ข่าวล่าสุด

  • ขอเรียนเชิญเข้าร่วมประชุมเสวนา ในหัวข้อเรื่อง สมาร์ทเอจจิง 2025: กินดี อยู่เป็น เพื่อชีวิตยืนยาว
  • ขอเชิญร่วมกิจกรรมนัดพบผู้ปกครองและการทำสัญญาการเป็นนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ และกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่
  • การให้บริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย (Common Illness : CI)
  • โครงการประชุมรายงานความก้าวหน้า
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำนักศึกษาศึกษาดูงาน ณ ประเทศโปรตุเกส
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำนักศึกษาศึกษาดูงาน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้รายวิชา “ประสบการณ์วิชาชีพเภสัชกรรมในต่างประเทศ”
  • 043 202 378
  • phdean@kku.ac.th
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

หลักสูตร

  • ปริญญาตรี
  • ปริญญาโท
  • ปริญญาเอก

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • KKU PDP

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

© สงวนลิขสิทธิ์โดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2566

  • ติดตามเราได้ที่: